ศูนย์ปฏิบัติการพัฒนาที่ดินโครงการหลวง

Land Development Operation Center for Royal Project.

  • หน้าแรก
  • เกี่ยวกับองค์กร
    • ประวัติ
    • โครงสร้างองค์กร
    • วิสัยทัศน์
    • ภารกิจ
    • หน้าที่ความรับผิดชอบ
    • บุคลากร ศพล.
  • แผนงานโครงการ
  • การจัดซื้อจัดจ้าง
    • ประกาศจัดซื้อจัดจ้าง
    • ประกาศประกวดราคา
    • สขร.
  • รายงานประจำปี
    • 2566
    • 2565
    • 2564
    • 2563
    • 2562
    • 2561
    • 2560
    • 2559
  • ข่าวประชาสัมพันธ์/กิจกรรม
  • ปฏิทินกิจกรรม
  • บริการ / Download
  • กระดานโต้ตอบ Webboard
  • ร้องเรียนร้องทุกข์ Complaint
  • ติดต่อหน่วยงาน
จำนวนผู้เข้าชม

  1. หน้าแรก
  2. ข่าวประชาสัมพันธ์กรม

นางสาวเบญจพร ชาครานนท์ อธิบดีกรมพัฒนาที่ดิน เปิดโครงการนำร่อง “โรงเรียนหมอดินอาสาทางอากาศ” ณ งานวันดินโลก 2564 สถานีพัฒนาที่ดินร้อยเอ็ด


  วันศุกร์ที่ 3 ธันวาคม 2564 เวลา 9.30 น. นางสาวเบญจพร ชาครานนท์ อธิบดีกรมพัฒนาที่ดิน เป็นประธานพิธีเปิด (Kick off) และปฐมนิเทศ โครงการนำร่อง “โรงเรียนหมอดินอาสาทางอากาศ” (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) พร้อมด้วย นางสาวภัทราภรณ์ โสเจยยะ รองอธิบดีกรมพัฒนาที่ดิน ผศ.อนุพร สุวรรณวาจกกสิกิจ ผู้อำนวยการใหญ่สถานีวิทยุกระจายเสียงมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และคณะผู้บริหารจากกรมพัฒนาที่ดินและสถานีวิทยุ ม.ก. ณ เวทีกลาง งานวันดินโลก 2564 สถานีพัฒนาที่ดินร้อยเอ็ด อ.สุวรรณภูมิ จ.ร้อยเอ็ด                นางสาวเบญจพร ชาครานนท์ อธิบดีกรมพัฒนาที่ดิน เปิดเผยว่า “โครงการหมอดินอาสาของกรมพัฒนาที่ดิน ได้ริเริ่มก่อตั้งขึ้นครั้งแรกตั้งแต่ปี พ.ศ.2538 เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานด้านการพัฒนาที่ดินในระดับพื้นที่ให้ทั่วถึงในทุกหมู่บ้านของประเทศไทย โดยปัจจุบันมีจำนวนหมอดินอาสาปฏิบัติงานอยู่ทั่วประเทศจำนวนกว่า 77,000 คน ในปีงบประมาณ 2565 กรมพัฒนาที่ดินมีเป้าหมายในการพัฒนาศักยภาพของหมอดินอาสาจำนวนทั้งสิ้น 51,556 คน ผ่านการอบรมหมอดินอาสา โดยกรมฯ จัดทำโครงการอบรมหมอดินอาสามามากกว่า 20 ปี เริ่มตั้งแต่การสร้างความเข้าใจบทบาทการทำงานร่วมกันของเจ้าหน้าที่กรมพัฒนาที่ดินกับหมอดินอาสา การสร้างวิทยากรหมอดินอาสา พัฒนาศูนย์เรียนรู้ด้านการพัฒนาที่ดิน และการอบรมเพิ่มเติมความรู้ใหม่ๆ ในโอกาสที่กรมฯ ได้ประกาศเจตนารมณ์เป็นองค์กร 4.0 จึงมีแนวคิดในการพัฒนาโครงการอบรมหมอดินอาสาเพื่อพัฒนาหมอดินอาสาให้เป็น Smart farmer ด้วยการนำเอาดิจิทัลมาปรับใช้ ทำให้มีการจัดเตรียมข้อมูล ระบบ และแอปพลิเคชันต่างๆ เพื่อรองรับ และเพื่อการพัฒนาศักยภาพของหมอดินอาสาด้านการเกษตร ให้สามารถเข้าถึงข้อมูลถังความรู้หมอดินอาสา จึงมีการจัดอบรมในรูปแบบใหม่ ด้วยการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศและดิจิทัล เพื่อการพัฒนาพื้นที่การเกษตรของตนเอง                ทั้งนี้ การดำเนินงานโครงการฯ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือในครั้งนี้ ถือเป็นความร่วมมือกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยสถานีวิทยุมก. มูลนิธิมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ในการพัฒนาต่อยอดแนวทางการอบรบรูปแบบใหม่สู่การดำเนินงานขับเคลื่อน Smart farmer โดยกรมพัฒนาที่ดิน มีหน้าที่ในการจัดตั้งคณะกรรมการเพื่อร่างหลักสูตร และกำกับดูแลเนื้อหา สำหรับสถานีวิทยุมก. มีหน้าที่ผลิตและเผยแพร่เนื้อหาต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีการพัฒนาที่ดิน จำนวน 20 ตอน ตอนละ 25 นาที ซึ่งหมอดินอาสาจะสามารถเข้าเรียนได้ตามเวลานัด ผ่านช่องทางการเผยแพร่รับชมได้ทั้งภาพ และ เสียง ผ่านทาง Mobile Application, Facebook Live, YouTube Live, Line และ เครือข่ายสถานีวิทยุกระจายเสียงมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ออกอากาศทั้ง 4 ภูมิภาค ในระบบ AM Stereo”                สำหรับการดำเนินโครงการนำร่อง “โรงเรียนหมอดินอาสาทางอากาศ” ดังกล่าวนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างความรู้ ในเรื่องข้อมูลดิน การตรวจวิเคราะห์ดิน การจัดการดิน และ ธาตุอาหารพืชให้เหมาะสมกับพืชที่ปลูกและสร้างความเข้าใจในการพัฒนาที่ดินให้แก่หมอดินอาสา จนสามารถถ่ายทอดและเผยแพร่ความรู้ไปยังเกษตรกรและชุมชนได้ โดยมีเป้าหมายให้หมอดินอาสา ได้รับความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องในการพัฒนาที่ดินผ่านสถานีวิทยุม.ก. ซึ่งมีเครือข่ายอยู่ทั่วประเทศ ทำให้สามารถรับรู้ข่าวสารได้อย่างรวดเร็ว ทันต่อสถานการณ์ และเป็นการขยายฐานกลุ่มผู้ฟังทางเครือข่ายสถานีวิทยุมก. และสื่อออนไลน์อย่างแพร่หลายและกว้างขวาง เพื่อเป็นการพัฒนาด้านการเกษตรของประเทศให้เพิ่มมากยิ่งขึ้น                ซึ่งพิธีเปิดและปฐมนิเทศ โครงการฯ ในครั้งนี้ อธิบดีกรมพัฒนาที่ดิน พร้อมด้วยคณะผู้บริหารได้ร่วมกันมอบวิทยุและของที่ระลึกงานวันดินโลกปี 2564 ให้กับหมอดินอาสาที่เข้าร่วมโครงการ โดยภายหลังจากพิธีฯ ได้มีการแนะนำวิธีการศึกษาผ่านสื่อวิทยุกระจายเสียงและสื่อโซเชียล พร้อมทั้งแนะนำวิธีการทำแบบสอบถาม ประเมินความรู้ก่อนการศึกษา วิธีการศึกษาเนื้อหาหลักสูตรตลอดระยะเวลาการฝึกอบรม และภายหลังจากจบโครงการจะมีการประเมินผลการดำเนินโครงการตามหลักวิชาการ เพื่อให้ใช้เป็นต้นแบบในการอบรมหมอดินอาสาในยุคเทคโนโลยีดิจิตอล (Digital) โดยมีหมอดินอาสาเข้าร่วมโครงการในครั้งนี้ จำนวนทั้งสิ้น 40 คน            รายงาน/ภาพ :  กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม กรมพัฒนาที่ดิน   


Latest Posts

ฝ่ายปฏิบัติการพัฒนาที่ดินที่ 2 ฝ่ายวางแผนและโครงการพัฒนาพื้นที่ เจ้าหน้าที่ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงห้วยส้มป่อย และเกษตรกรในพื้้นที่ ร่วมพิจารณาพื้นที่เพื่อวางแผนการสำรวจออกแบบล่วงหน้างานระบบส่งน้ำชลประทาน

ข่าวประชาสัมพันธ์ ศพล.
16 กรกฎาคม 2568

นายดำรงฤทธิ์ ศิริข่วง หัวหน้าฝ่ายปฏิบัติการพัฒนาที่ดินที่ 3 ศูนย์ปฏิบัติการพัฒนาที่ดินโครงการหลวง เป็นวิทยากรบรรยายให้ความรู้และสาธิต การทำปุ๋ยหมักจากสารเร่งซุปเปอร์ พด.1 ผลิตน้ำหมักชีวภาพจากสารเร่งซุปเปอร์ พด.2 และสารขับไล่แมลงศัตรูพืชจากสารเร่งซุปเปอร์

ข่าวประชาสัมพันธ์ ศพล.
16 กรกฎาคม 2568

นางสาวสลิลรัตน์ วิชัยพานิช หัวหน้าฝ่ายวางแผนและโครงการพัฒนาพื้นที่ ศพล. ร่วมประชุมคณะทำงานสนับสนุนศูนย์พัฒนาโครงการหลวงระดับอำเภอแม่ริม ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงทุ่งเรา ครั้งที่ 3/2567

ข่าวประชาสัมพันธ์ ศพล.
16 กรกฎาคม 2568

ฝ่ายปฏิบัติการพัฒนาที่ดินที่ 2 ร่วมกับฝ่ายวางแผนและโครงการพัฒนาพื้นที่ หารือแลกเปลี่ยนข้อมูลกับทางหัวหน้าสถานีเกษตรหลวงอินทนนท์ เพื่อเป็นแนวทางการสำรวจออกแบบล่วงหน้างานจัดระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ และงานระบบส่งน้ำชลประทาน

ข่าวประชาสัมพันธ์ ศพล.
16 กรกฎาคม 2568

นายอรรถพันธ์ ศรีศุภโอฬาร ผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการพัฒนาที่ดินโครงการหลวง เป็นประธานในการประชุมประจำเดือน ครั้งที่ 4/2567

ข่าวประชาสัมพันธ์ ศพล.
16 กรกฎาคม 2568

KeyWords

  ศูนย์ปฏิบัติการพัฒนาที่ดินโครงการหลวง
  Land Development Operation Center for Royal Project.

  • 164 หมู่ 3 ต.ดอนแก้ว อ.แม่ริม จ.เชียงใหม่
  • 053-121209,053121168, FAX 053121173
  • cnr_1@ldd.go.th